วิธีต่อคอม Notebook เข้าทีวี lcd projector

มีผู้สอบถามเกี่ยวกับการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สัญาณภาพออกไปที่อุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรทัศน์, LCD TV, Plasma TV, LCD Monitor, Projector และอุปกรณ์แสดงผลอื่นๆ ได้นำบทความมาเผยแพร่ เขาเขียนไว้ละเอียดมากครับ

ทุกวันนี้เราไม่ได้ใช้จอภาพ เพื่อเอาไว้ดู Free TV, Cable TV หรือเครื่องเล่น DVD หรือแม้กระทั่งเครื่องเล่น Bluray disc แล้วนะครับ อีกหนึ่งเครื่องเล่น ที่มีประโยชน์มากนั่นคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นเองครับ

การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับทีวี ฟังดูแล้ว อาจจะดูแปลก แต่จริงๆแล้ว มันไม่ต่างอะไรกับที่ เราเสียบสายมอนิเตอร์ เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เลย เพียงแต่อาจจะสับสนเพราะ มันมีมากกว่า 1 จอนั่นเอง

จุดประสงค์ที่ผู้ใช้ต้องต่อจอเสริม เข้ากับคอมพิวเตอร์นั่นก็เพราะว่า

7

รูปภาพจาก harvard

พรีเซนต์งาน บนจอที่ใหญ่ขึ้น หรือ ใช้เครื่องฉายโปรเจคเตอร์
เป็นเรื่องปกติแล้วหละครับ ปัญหาหลักๆคือ โน้ตบุคสมัยนี้ มาเป็น Widescreen แต่โปรเจคเตอร์ที่โรงเรียน หรือ ออฟฟิศนั้น ยังเป็นรุ่นเก่าอยู่ ไม่รองรับ widescreen เลยทำให้ต้องมีการปรับสัดส่วนภาพใหม่ ความละเอียดก็ผิดเพี้ยนไป ทำให้ไม่สามารถพรีเซนต์งานได้มีประสิทธิภาพได้ตามต้องการ

99

รูปภาพจาก se-ed

รับชมภาพยนตร์ วีดีโอไฟล์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์
สมัยนี้คนนิยมที่จะโหลดภาพยนตร์แบบ HD มาเก็บไว้ใน Harddisk กัน นอกจากจะเก็บได้ทนทาน เก็บได้เยอะ และ ราคาไม่แพงแล้ว ยังสามารถปรับ configure อะไรได้สารพัดอีกตังหาก (ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้ครับ) ปัญหาอีกปัญหาหนึ่งคือ สัดส่วนภาพของโน้ตบุคที่ส่วนมากยังเป็น 16:10 ต้องมาเจอหนังที่เป็น 16:9 หรือ panoramic ถ้าเราตั้งความละเอียดไม่ถูก ก็จะทำให้สัดส่วนหนังผิดแปลกไปนะครับ

81

รูปภาพจาก tradingcomputers

ขยายจอภาพเดิมที่มีขนาดเล็ก ให้ใหญ่ขึ้น มีพื้นที่การทำงานที่กว้างขึ้น
บางคนใช้จอเดียว ทำงานเกี่ยวกับกราฟฟิก บางทีตัวชิ้นงานก็เต็มจอละ ยังมีพวก tools / panel อะไรต่อมิอะไร เขาคงอยากจะขยายจอ แล้วให้จอเสริม ในการวางเครื่องมือ (เหมือนที่เราเห็นในหนัง มี 3-4 จอ ต่อๆกัน ดูโปรมากๆเลยครับ)

แล้วเราจะต่อจอเสริม ยังไงดีหละ???

1. ก่อนอื่นเลย คุณต้องมีจอภาพ มากกว่า 1 จอ จะเป็นจอ CRT, LCD, Plasma, Projector อะไรก็ว่าไปครับ

2. ทำการสำรวจ ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ โน้ตบุค คุณมีพอร์ตที่จะต่อจอนอก ได้อีกหรือเปล่า อาจจะเป็น Composite out (สายAV หัวสีเหลือง), S-video (มีสองแบบ 4 กับ 6 pin), RGB, DVi, HDMI, Display port และ ก็ดูว่า บนจอภาพของคุณ มีช่องต่อสัญญาณขาเข้าอะไรให้เชื่อมต่อบ้าง (ไม่นับช่องเสียบเสาอากาศ/Scart/RCA นะครับ)

สำหรับทีวีรุ่นเก่าๆ ที่ไม่มีช่องต่อคอมพิวเตอร์โดยตรง การ์ดจอต้องรองรับ Tv-out ครับ บนการ์ดจอจะมีพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งต่อไปนี้ให้เลือกใช้ครับ

1

รูปภาพจาก wheethet

av-cable

Composite out (รูป C) นี้เป็นแบบเก่าน่ะครับ ความละเอียดไม่สูงมาก แต่มันก็เหมาะสำหรับทีวี รุ่นเก่าๆน่ะครับ

svideo-cable

S-video สายแบบนี้มีสองแบบ คือ 7pin (รูปB) กับ 4pin (รูปA) อยากให้ดูว่า ที่อยู่ที่คอมเรา กับ ทีวีเรา เป็นแบบกี่pin แล้วซื้อสายมาต่อให้ถูกแบบน่ะครับ เพราะถ้าต่อผิด สีมันจะไม่ออกครับ .. ทีวีบางเครื่องอาจจะไม่มีพอร์ตนี้ ก็ต้องไปซื้อสายแปลงจาก S-video to Composite มาต่อหละครับ.. ส่วนคุณภาพนั้น ดีกว่า Composite นิดนึง

13

รูปภาพจาก lindy

ถ้าคอมพิวเตอร์ใครไม่มี TV-out กับพอร์ตที่ผมว่าไปนั้น ก็ต้องไปซื้อกล่องแปลงสัญญาณ ราคาก็พันต้นๆขึ้นไปครับ (ขึ้นอยู่กับความละเอียดของ output) และ พอร์ตสองแบบนี้ คุณภาพอาจจะไม่สูงมาก แต่ก็เพียงพอต่อการใช้งานพวก วีดีโอคลิป โปรแกรมคาราโอเกะ หรือ พรีเซนต์งาน ตัวอักษรอาจจะไม่คมชัด ทั้งนี้เพราะเป็นข้อจำกัดของสายครับ

สำหรับทีวีรุ่นใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น LCD TV, Plasma TV, LCD Monitor, Projector จะมีการรองรับการต่อคอมพิวเตอร์ เราจะคุ้นกับพอร์ตพวกนี้ขึ้นมาหน่อยครับ

501-61_lg
รูปภาพจาก sandberg

RGB พอร์ตนี้เรารู้จักตั้งแต่เราเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ แล้วครับ คุณภาพค่อนข้างจัดว่าดีเลยทีเดียว แต่เป็นระบบ Analog ซึ่งสามารถถูกคลื่นรบกวนได้ง่าย แต่ทุกวันนี้ก็ยังใช้อยู่ครับ เพราะราคาไม่สูงมาก..

2

รูปภาพจาก socalelectronics

สำหรับ ทีวีเครื่องใด ที่มีช่องต่อ DVD Component (แบบแยกสี 3 สี) แต่ไม่มีช่อง RGB คุณสามารถ ไปหาซื้อสายแปลงจาก RGB to DVD Component ได้ครับ

6

รูปภาพจาก xbitlabs

บางการ์ดจอ แถมสายแปลงจาก mini RGB (ใช้พอร์ตร่วมกับ S-video แต่แยกออกมาเป็นสามเส้น สามสี ไว้ต่อ Component ครับ) แต่ใช้สาย Component จะตั้งความละเอียดได้ไม่สูงนะครับ

dvi_cable
รูปภาพจาก global-b2b-network

DVi พอร์ตนี้เป็นการพัฒนาต่อมาจาก RGB เพื่อเปลี่ยนการส่งสัญญาณ จาก Analog ให้เป็น Digital ภายในสายสัญญาณ จะมีการส่งแค่ข้อมูล 0 กับ 1 เท่านั้น เราจะมั่นใจได้ว่า ข้อมูลจะถูกส่งไปครบ โดยไม่มีคลื่นมารบกวนได้ และ แน่นอนว่า คุณภาพของ DVi จะต้องดีกว่าแน่ๆ

attachment

รูปภาพจาก Wikipedia

DVi เขามีหลายแบบให้เลือกนะครับ เวลาเลือกซื้อสายก็ต้องเชคให้ดีๆก่อนนะครับ

4

รูปภาพจาก dansdata

ถ้าคอมพิวเตอร์ใครมีพอร์ต DVi-i แต่จอภาพมี RGB ก็สามารถซื้อหัวแปลงได้นะครับ เพราะ DVi-i รองรับทั้ง analog และ digital ครับ

hdmi_cable

รูปภาพจาก computerheaven

HDMI พอร์ตนี้ จะมีความเป็น multimedia มากขึ้นครับ เพราะพอร์ตนี้ สามารถส่งข้อมูล ได้ทั้งภาพและเสียงระบบรอบทิศทาง และยังเป็นระบบดิจิทัลอีกตังหาก อีกทั้งพอร์ตยังมีขนาดเล็ก และ ไม่ต้องขันน๊อตให้แน่นขณะเสียบสายอีกครับ ตอนนี้โน้ตบุคหลายๆรุ่นก็เริ่มจะใส่พอร์ตนี้เข้ามาให้แล้ว ตอนนี้ถือว่าเป็นที่นิยมมากเลยครับ

3

รูปภาพจาก tradeboss

พอร์ต HDMI นี้สามารถซื้อตัวแปลง HDMI to DVi ได้นะครับ หรือจะแปลงต่อไปเป็น RGB ก็ได้ แต่แน่นอนว่า เสียงจะไม่ออกครับ อาจจะต้องใช้เสียงจาก sound card แทนนะครับ

dp-mm-3

รูปภาพจาก electronicplus

Display port พอร์ตนี้เป็นมาตรฐานใหม่ ซึ่งสิ้นปี ถึง ปีหน้า น่าจะเห็นได้เด่นชัดมากกว่าตอนนี้ ซึ่งตามเสปค นั้นดีกว่า HDMI ครับ พอร์ตนี้ผมยังไม่ขอพูดถึงแล้วกันนะครับ เพราะยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก

12

รูปภาพจาก tcmagazine

หลังจากสำรวจ และ จัดแจงซื้อสาย มาต่อแล้ว ก็ทำการขั้นต่อไปต่อเลยครับ

3. ลง driver การ์ดจอ ใครใช้ nVidia, ATi, Intel, S3 ก็จัดแจงลง driver ให้ครบถ้วนนะครับ แล้วทำการเสียบสาย ถ้าโน้ตบุคใครมีฟังค์ชั่นการ Presentation ก็ต้องเปิดนะครับ อาจจะต้องกด Fn+F4 หรืออะไรพวกนี้นะครับ(คอมพิวเตอร์ แต่ละยี่ห้อกดปุ่มไม่เหมื่อนกัน ให้สังเกต ตรง F1, F2, ….F12 ที่มีรูปสี่เหลี่ยมคล้ายทีวี) ไม่ยังงั้นคอมพิวเตอร์ จะมองไม่เห็นจอภาพ ครับ

ขอบคุณข้อมูลดีดี : www.lcdspec.com